ตัวอักษร

ยินดีต้อนรับเข้าสู่วิชาเคมี ^-^

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด

จงหาจำนวนโมลสารต่อไปนี้
1.            ฮีเลียม (he) 1.024 คูณ 10 ยกกำลัง 22
วิธีทำ
  สาร 6.02 คูณ 10 ยกกำลัง 23 อะตอม   1  โมล
ถ้าฮีเลียม  1.04 คูณ 10 ยกกำลัง 22  จะมี   1 คูณ 1.024 คูณ 10 ยกกำลัง 22 หาร6.02 คูณ 10 ยกกำลัง 23


เท่ากับ 0.17 คูณ 10 ยกกำลัง ลบ1

2.             กรดไฮเปอร์คลอริก (HCLO4) มีมวลโมเลกุล 100.4587 ถ้าสารละลายกรดชนิดนี้เข้มขั้น 9.20 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร มีความหนาแน่น 1.54 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จงหาความเข้มข้นของสารละลายนี้เป็นร้อยละโดยมวล
ความเข้มข้น  (9.20mol÷1dm3)×(100.5g÷1mol)×(1cm3÷1.54g)×(1dm3÷1000cm3)×100%
                        =    60.0 โดยมวล
ตอบ   สารละลาย HCLO4 มีความเข้มข้นร้อยละ 60.0 โดยมวล

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ชนิดของผลึก

ผลึกของของแข็ง แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ

                1. ผลึกไอออนิก (Ionic crystal) อนุภาคของผลึกประเภทนี้จะเป็นไอออนบวกและไอออนลบเรียงตัวสลับกันไปในลักษณะสามมิติ แข็งแต่เปราะ มีจุดหลอมเหลวแลจุดเดือดสูง ขณะเป็นของแข็งไม่นำไฟฟ้าแต่เมื่อหลอมเหลวหรืออยู่ในรูปสารละลายจะสามารถนำไฟฟ้าได้ ตัวอย่างที่พบบ่อยๆ ได้แก่ สารประกอบออกไซด์ของโลหะหมู่ 1 และหมู่ 2 เกลือเฮไลด์ของโลหะ

               2. ผลึกโมเลกุล (Molecular crystal) อนุภาคของผลึกประเภทนี้อาจเป็นอะตอมหรือโมเลกุล แรงดึงดูดระหว่างอนุภาคอาจเป็นแรงดึงดูดระหว่างขั้วของโมเลกุล หรือเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ ผลึกประเภทนี้ค่อนข้างอ่อนหรือนิ่ม เช่น ผลึกของไอโอดีน

               3. ผลึกโคเวเลนต์ร่างตาข่าย (Covalent crystal) อนุภาคของผลึกประเภทนี้จะเป็นอะตอม มีการยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เช่น เพชร อะตอมองค์ประกอบแต่ละอะตอมจะยึดเหนี่ยวกับอะตอมข้างเคียงสีอะตอมด้วยพันธะโคเวเลนต์ที่แข็งแรง ผลึกประเภทนี้มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดที่สูงมาก มีความดันไอต่ำ และไม่ละลายตัวในสารละลายใดๆ ตัวอย่างที่พบบ่อยๆ คือ เพชร และแกรไฟต์

               4. ผลึกโลหะ(Metallic crystal) อนุภาคของผลึกประเภทนี้จะเป็นไอออนบวกที่อยู่ท่ามกลางเวเลนต์อิเล็กตรอนแต่ละอิเล็กตตรอนเคื่อนที่ได้อย่างอิสระทั่วทั้งก้อนของโลหะผลึกประเภทนี้มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ดึงให้เป็นแผ่นและตีเป็นเส้นได้ง่าย ตตัวอย่าง โลหะโดยทั่วไป เช่น เหล็ก เงิน และทองคำ เป็นต้น


สมบัติของของเหลว

สมบัติทั่วไปของของเหลว
1.) ของเหลวมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนตามภาชนะที่บรรจุ
2.) ของเหลวประกอบด้วยโมเลกุลที่เคลื่อนที่อย่างไม่ค่อยเห็นระเบียบ มีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อย
3.) โมเลกุลของของเหลวอยู่ชิดกันมากกว่าก๊าซ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่า
4.) ปริมาตรของของเหลวเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่ออุณหภูมิและความดันเปลี่ยน
5.) ของเหลวส่วนใหญ่มีความหนาเเน่นมากกว่าก๊าซ แต่น้อยกว่าของเเข็ง
6.) โมเลกุลของของเหลวสามารถแพร่กระจายได้ แต่ในอัตราที่ช้ากว่าโมเลกุลของก๊าซ เพราะของเหลวมีความหนา เเน่นจึงถูกดึงดูดโดยโมเลกุลข้างเคียง เเละมีบริเวณที่จะเคลื่อนที่จำกัดต้องปะทะโมเลกุลอื่นตลอดทาง
7.) เมื่อนำของเหลวสองชนิดที่ไมทำปฏิกิริยากันมาผสมกันปริมาตรรวมจะเท่ากับผลบวกของปริมาตรสารทั้งสอง
8.) ของเหลวสามารถระเหยได้ทุกๆอุณหภูมิ
10.) ของเหลวเดือดได้เมื่อของเหลวนั้นมีความดันไอเท่ากับความดันของบรรยากาศ
11.) ของเหลวมีแรงดึงผิว(Surface tension) และความหนืด(Viscosity) เพราะโมเลกุลของของเหลวอยู่ชิดกัน จึงดึงดูดกัน และของเหลวใดยิ่งมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมาก จะยิ่งมีแรงดึงผิวมาก

แรงตึงผิว (Surface tension)

สมบัติของแก๊ส

สมบัติทั่วไปของแก็ส สมบัติทั่วไปของแก็ส ได้แก่


        1. แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุ ในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค (โมเลกุล หรืออะตอม) น้อยมาก จึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
        2. ถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล ดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลด้วย เช่น แก๊สออกซิเจน 1 โมลมีปริมาตร 22.4 dm3 ที่อุณหภูมิ 0 C ความดัน 1บรรยากาศ (STP)
        3. สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวและของแข็งมาก เช่น ไอน้ำ มีความหนาแน่น 0.0006 g/cm3แต่น้ำมีความแน่นถึง 0.9584 g/cm3 ที่100 C
        4. แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็วเพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง
        5. แก็สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกัน แก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วน นั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียว หรือเป็นสารละลาย (Solution)
        6. แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใส่เช่นแก๊สออกซิเจน(O2)แก๊สไฮโดเจน(H2) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)แต่แก๊สบางชนิดมีสี เช่น แก๊สไนโตเจนไดออกไซด์ (NO2) มีสีน้ำตาลแดง แก๊สคลอรีน(Cl2) มีสีเขียวแกมเหลือง แก๊สโอโซน (O3) ที่บริสุทธิ์มีสีน้ำเงินแก่ เป็นต้น

สมบัติของ ของแข็ง

การคำนวณปริมาณสารจากสมการเคมี 
  1. ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะที่บรรจุ
                     2. มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
                     3. มีอนุภาคอยู่ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ
                     4. สามารถระเหิดได้
                        โมเลกุลของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมาก ของแข็งจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าในสถานะของเหลว ทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอน ไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของของแข็งเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่ก็มีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา


การคํานวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี


                การเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ  เราเขียนแสดงได้ด้วยสมการเคมี  สิ่งที่แสดงอยู่ในสมการเคมีจะประกอบด้วยสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้น ๆ  รวมทั้งภาวะต่าง ๆ
ของการเกิดปฏิกิริยาด้วย  สมการเคมีจะช่วยให้เราคิดคำนวณค่าต่าง ๆ  ของการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น  เช่น  มวลหรือน้ำหนักของสารเคมีที่ถูกใช้ไป  หรือที่เกิดขึ้นใหม่
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของพลังงานและอื่น ๆ  การคำนวณหาปริมาณสารจากสมการเคมีเป็นเรื่องใหญ่และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาเคมีในขั้นตอนต่อ ๆ ไป 
แต่ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ให้ดีเสียก่อน
                 
ระบบกับสิ่งแวดล้อม (system and surrounding) 
            ระบบ  หมายถึง  สิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลง  โดยอาจเป็นการเปลี่ยนสถานะ  การละลายหรือการเกิดปฏิกิริยาเคมีก็ได้

           สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ของสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น  ซึ่งก็คือทุกสิ่งทุกอย่างที่สัมผัสอยู่กับระบบ

สมการเคมี

สมการเคมีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้น (อาจเป็นปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุล อะตอม หรือไอออนก็ได้) เพื่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ และสูตรโมเลกุลที่เป็นตัวแทนของธาตุที่อยู่ในสารประกอบ
       สมการเคมีโดยทั่วไปแล้วจะใช้สัญลักษณ์แทนของธาตุต่าง ๆ มีลูกศรที่ชี้จากด้านซ้ายของสมการไปทางด้านขวาเพื่อบ่งบอกว่าสารตั้งต้น(reactant)ทางด้านซ้ายมือ ทำปฏิกิริยาเกิดสารใหม่ขึ้นมาเรียกว่าผลิตภัณฑ์ (product)ทางด้านขวามือ ดังนั้น จากสมการเคมีเราสามารถใช้คำนวณหาได้ว่าใช้สารตั้งต้นเท่าไรแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเท่าไร